กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาให้หายได้หรือไม่

กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาให้หายได้หรือไม่

    หลายคนคงจะเคยได้ยินนะครับว่า โรคกระดูกสันหลังเสื่อมเกิดตอนอายุมากรักษายังไงก็ไม่หาย ให้ทำใจ แต่จริง ๆ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุ 30 กว่า ๆ โดยที่อาการที่เกิดจากโรคนี้เราสามารถบรรเทาให้ลดลงได้และชะลอไม่ให้โรคนี้เป็นมากขึ้นได้นะครับ โดยไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด

    หมอนรองกระดูกสันหลังซึ่งเป็นส่วนประกอบของโครงร่างกระดูกสันหลังจะเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 20 กว่า ๆ และเสื่อมไปเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานอายุ 30 – 40 ปี โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดคือ น้ำหนักตัวมาก ทำงานที่ต้องนั่งหรือยืนนาน ๆ ทำงานที่ต้องแบกของหนัก สูบบุหรี่มาก นอกจากนั้นในผู้ที่อายุมากขึ้นกระดูกสันหลังที่เสื่อมลง จะมีการงอกเนื่องจากมีแคลเซียมมาเกาะ จนบางครั้งหมอนรองกระดูกที่ยุบตัวลง หรือกระดูกที่งอกเกิดการทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดหลัง ได้นะครับ

    โรคกระดูกสันหลังเสื่อม อาจจะไม่ทำให้เกิดอาการก็ได้ หรืออาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง หากมีการกดทับของเส้นประสาทก็อาจทำให้เกิดอาการปวดร้างลงขา อ่อนแรง ชาขา เดินได้ไม่ไกล นั่งนาน ๆ ไม่ได้ หรือขับรถนาน ๆ ไม่ได้ครับ

วิธีรักษา

    จะต้องเริ่มจาก หยุดทำงานหนัก หยุดยกของหนัก พยายามลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ มาก ๆ ครับ ทานยาจำพวกลดอาการอักเสบ แก้ปวดเท่าที่จำเป็น ยาแก้ปวดปลายประสาท ยาบำรุงกระดูกหมอนรองกระดูก บริหารยืดเส้น และการรักษาอีก 1 วิธีก็คือ การฉีดยาเข้าโพรงประสาทหลังเพื่อขยายโพรงประสาท ลดอาการอักเสบของเส้นประสาท วิธีนี้ได้ผลดีถึงดีมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ร้าวลงสะโพกหรือลงขา โดยจะบรรเทาอาการปวดอย่างรวดเร็วครับ โดยอาจจะต้องฉีดต่อเนื่องประมาณ 2-3 เข็มครับ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรงจนปัสสาวะอุจจาระไม่ได้หรืออ่อนแรงจนเดินไม่ได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการฉีดยา ถึงจะมีความจำเป็นจะต้องผ่าตัดนะครับ

    โดยโอกาสที่จะต้องผ่าตัดมีน้อยมากเลยครับในตำราแพทย์บางเล่มเขียนไว้ว่าน้อยกว่า 10% ของผู้ป่วยปวดหลังครับที่จำเป็นต้องผ่าตัด

อ.นพ.กสิสิน กลั่นกลิ่น

Leave a Comment

ไขปัญหาข้องใจ “โรคกระดูกและข้อ”

กับหมอกสิสิน

นพ.กสิสิน กลั่นกลิ่น
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก)

อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ ประจำภาควิชาออร์โทปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาให้หายได้หรือไม่

กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาให้หายได้หรือไม่

    หลายคนคงจะเคยได้ยินนะครับว่า โรคกระดูกสันหลังเสื่อมเกิดตอนอายุมากรักษายังไงก็ไม่หาย ให้ทำใจ แต่จริง ๆ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุ 30 กว่า ๆ โดยที่อาการที่เกิดจากโรคนี้เราสามารถบรรเทาให้ลดลงได้และชะลอไม่ให้โรคนี้เป็นมากขึ้นได้นะครับ โดยไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด

    หมอนรองกระดูกสันหลังซึ่งเป็นส่วนประกอบของโครงร่างกระดูกสันหลังจะเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 20 กว่า ๆ และเสื่อมไปเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานอายุ 30 – 40 ปี โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดคือ น้ำหนักตัวมาก ทำงานที่ต้องนั่งหรือยืนนาน ๆ ทำงานที่ต้องแบกของหนัก สูบบุหรี่มาก นอกจากนั้นในผู้ที่อายุมากขึ้นกระดูกสันหลังที่เสื่อมลง จะมีการงอกเนื่องจากมีแคลเซียมมาเกาะ จนบางครั้งหมอนรองกระดูกที่ยุบตัวลง หรือกระดูกที่งอกเกิดการทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดหลัง ได้นะครับ

    โรคกระดูกสันหลังเสื่อม อาจจะไม่ทำให้เกิดอาการก็ได้ หรืออาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง หากมีการกดทับของเส้นประสาทก็อาจทำให้เกิดอาการปวดร้างลงขา อ่อนแรง ชาขา เดินได้ไม่ไกล นั่งนาน ๆ ไม่ได้ หรือขับรถนาน ๆ ไม่ได้ครับ

วิธีรักษา

    จะต้องเริ่มจาก หยุดทำงานหนัก หยุดยกของหนัก พยายามลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ มาก ๆ ครับ ทานยาจำพวกลดอาการอักเสบ แก้ปวดเท่าที่จำเป็น ยาแก้ปวดปลายประสาท ยาบำรุงกระดูกหมอนรองกระดูก บริหารยืดเส้น และการรักษาอีก 1 วิธีก็คือ การฉีดยาเข้าโพรงประสาทหลังเพื่อขยายโพรงประสาท ลดอาการอักเสบของเส้นประสาท วิธีนี้ได้ผลดีถึงดีมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ร้าวลงสะโพกหรือลงขา โดยจะบรรเทาอาการปวดอย่างรวดเร็วครับ โดยอาจจะต้องฉีดต่อเนื่องประมาณ 2-3 เข็มครับ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรงจนปัสสาวะอุจจาระไม่ได้หรืออ่อนแรงจนเดินไม่ได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการฉีดยา ถึงจะมีความจำเป็นจะต้องผ่าตัดนะครับ

    โดยโอกาสที่จะต้องผ่าตัดมีน้อยมากเลยครับในตำราแพทย์บางเล่มเขียนไว้ว่าน้อยกว่า 10% ของผู้ป่วยปวดหลังครับที่จำเป็นต้องผ่าตัด

อ.นพ.กสิสิน กลั่นกลิ่น

Leave a Comment

slide3-mobile

ไขปัญหาข้องใจ “โรคกระดูกและข้อ”

กับหมอกสิสิน

นพ.กสิสิน กลั่นกลิ่น
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก)

อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ ประจำภาควิชาออร์โทปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่