ปวดหลังร้าวลงขา รีบรักษา อาจไม่ต้องผ่าตัด

ปวดหลังร้าวลงขา รีบรักษา อาจไม่ต้องผ่าตัด

ปวดหลังร้าวลงขา บางครั้งมีอาการชาร่วมด้วย หรืออาจมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา อาจบ่งบอกถึงภาวะความผิดปกติของกระดูกสันหลังและระบบประสาทหลังได้นะครับ หากไม่รีบตรวจรักษาอาจทำให้มีอาการปวดเรื้อรังทำให้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดในที่สุดครับ

สาเหตุของอาการปวดหลังร้าวลงขาที่พบบ่อย

  1. หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
  2. หมอนรองกระดูกเสื่อม
  3. กระดูกสันหลังเคลื่อน
  4. โพรงกระดูกสันหลังตีบ
  5. ข้อต่อกระดูกสันหลังกับสะโพกมีปัญหา

วิธีการรักษาดูแลตัวเองเบื้องต้น

หากอาการยังเป็นไม่มากสามารถดูแลรักษาด้วยตัวเองที่บ้านได้นะครับ

  1. หลีกเลี่ยงการยกของหนักทุกชนิดในช่วงแรก โดยหลังจากที่เรารู้สึกมีอาการปวดควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมยกของหนักโดยทันทีครับ ไม่ควรฝืนยกนะครับจะทำให้อาการเป็นมากขึ้นครับ
  2. ใช้การประคบร้อนหรือเย็นช่วย
  3. ทานยาลดการอักเสบ แก้ปวด
  4. บริหารร่างกายโดยวิธีที่ไม่ลงน้ำหนัก เช่น ปั่นจักรยาน หรือ ว่ายน้ำ

หากใช้วิธีรักษาเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้นอย่าปล่อยอาการปวดทิ้งไว้ให้กลายเป็นอาการปวดเรื้อรังนะครับ จะทำให้รักษายากขึ้นบางรายอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากจนต้องผ่าตัดรักษา วิธีที่สามารถใช้รักษาอาการปวดหลังร้าวลงขาที่ได้ผลดีและไม่ต้องทำการผ่าตัดก็คือ  การฉีดยาเข้าโพรงประสาทรักษาอาการอักเสบของเส้นประสาทโดยตรง  ซึ่งผู้ป่วยบางรายที่เป็นไม่มากจะได้ผลดีครับ หากการอักเสบเป็นมากอาจต้องทำการฉีดซ้ำหลายครั้งครับ

Leave a Comment

ไขปัญหาข้องใจ “โรคกระดูกและข้อ”

กับหมอกสิสิน

นพ.กสิสิน กลั่นกลิ่น
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก)

อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ ประจำภาควิชาออร์โทปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ปวดหลังร้าวลงขา รีบรักษา อาจไม่ต้องผ่าตัด

ปวดหลังร้าวลงขา รีบรักษา อาจไม่ต้องผ่าตัด

ปวดหลังร้าวลงขา บางครั้งมีอาการชาร่วมด้วย หรืออาจมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา อาจบ่งบอกถึงภาวะความผิดปกติของกระดูกสันหลังและระบบประสาทหลังได้นะครับ หากไม่รีบตรวจรักษาอาจทำให้มีอาการปวดเรื้อรังทำให้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดในที่สุดครับ

สาเหตุของอาการปวดหลังร้าวลงขาที่พบบ่อย

  1. หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
  2. หมอนรองกระดูกเสื่อม
  3. กระดูกสันหลังเคลื่อน
  4. โพรงกระดูกสันหลังตีบ
  5. ข้อต่อกระดูกสันหลังกับสะโพกมีปัญหา

วิธีการรักษาดูแลตัวเองเบื้องต้น

หากอาการยังเป็นไม่มากสามารถดูแลรักษาด้วยตัวเองที่บ้านได้นะครับ

  1. หลีกเลี่ยงการยกของหนักทุกชนิดในช่วงแรก โดยหลังจากที่เรารู้สึกมีอาการปวดควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมยกของหนักโดยทันทีครับ ไม่ควรฝืนยกนะครับจะทำให้อาการเป็นมากขึ้นครับ
  2. ใช้การประคบร้อนหรือเย็นช่วย
  3. ทานยาลดการอักเสบ แก้ปวด
  4. บริหารร่างกายโดยวิธีที่ไม่ลงน้ำหนัก เช่น ปั่นจักรยาน หรือ ว่ายน้ำ

หากใช้วิธีรักษาเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้นอย่าปล่อยอาการปวดทิ้งไว้ให้กลายเป็นอาการปวดเรื้อรังนะครับ จะทำให้รักษายากขึ้นบางรายอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากจนต้องผ่าตัดรักษา วิธีที่สามารถใช้รักษาอาการปวดหลังร้าวลงขาที่ได้ผลดีและไม่ต้องทำการผ่าตัดก็คือ  การฉีดยาเข้าโพรงประสาทรักษาอาการอักเสบของเส้นประสาทโดยตรง  ซึ่งผู้ป่วยบางรายที่เป็นไม่มากจะได้ผลดีครับ หากการอักเสบเป็นมากอาจต้องทำการฉีดซ้ำหลายครั้งครับ

Leave a Comment

slide3-mobile

ไขปัญหาข้องใจ “โรคกระดูกและข้อ”

กับหมอกสิสิน

นพ.กสิสิน กลั่นกลิ่น
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก)

อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ ประจำภาควิชาออร์โทปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่