กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาให้หายได้หรือไม่

กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาให้หายได้หรือไม่     หลายคนคงจะเคยได้ยินนะครับว่า โรคกระดูกสันหลังเสื่อมเกิดตอนอายุมากรักษายังไงก็ไม่หาย ให้ทำใจ แต่จริง ๆ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุ 30 กว่า ๆ โดยที่อาการที่เกิดจากโรคนี้เราสามารถบรรเทาให้ลดลงได้และชะลอไม่ให้โรคนี้เป็นมากขึ้นได้นะครับ โดยไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด     หมอนรองกระดูกสันหลังซึ่งเป็นส่วนประกอบของโครงร่างกระดูกสันหลังจะเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 20 กว่า ๆ และเสื่อมไปเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานอายุ 30 – 40 ปี โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดคือ น้ำหนักตัวมาก ทำงานที่ต้องนั่งหรือยืนนาน ๆ ทำงานที่ต้องแบกของหนัก สูบบุหรี่มาก นอกจากนั้นในผู้ที่อายุมากขึ้นกระดูกสันหลังที่เสื่อมลง จะมีการงอกเนื่องจากมีแคลเซียมมาเกาะ จนบางครั้งหมอนรองกระดูกที่ยุบตัวลง หรือกระดูกที่งอกเกิดการทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดหลัง ได้นะครับ     โรคกระดูกสันหลังเสื่อม อาจจะไม่ทำให้เกิดอาการก็ได้ หรืออาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง หากมีการกดทับของเส้นประสาทก็อาจทำให้เกิดอาการปวดร้างลงขา อ่อนแรง ชาขา เดินได้ไม่ไกล นั่งนาน ๆ ไม่ได้ หรือขับรถนาน ๆ ไม่ได้ครับ วิธีรักษา     จะต้องเริ่มจาก หยุดทำงานหนัก หยุดยกของหนัก พยายามลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ มาก ๆ ครับ ทานยาจำพวกลดอาการอักเสบ แก้ปวดเท่าที่จำเป็น ยาแก้ปวดปลายประสาท ยาบำรุงกระดูกหมอนรองกระดูก บริหารยืดเส้น และการรักษาอีก 1 วิธีก็คือ การฉีดยาเข้าโพรงประสาทหลังเพื่อขยายโพรงประสาท ลดอาการอักเสบของเส้นประสาท วิธีนี้ได้ผลดีถึงดีมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ร้าวลงสะโพกหรือลงขา โดยจะบรรเทาอาการปวดอย่างรวดเร็วครับ โดยอาจจะต้องฉีดต่อเนื่องประมาณ 2-3 เข็มครับ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรงจนปัสสาวะอุจจาระไม่ได้หรืออ่อนแรงจนเดินไม่ได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการฉีดยา ถึงจะมีความจำเป็นจะต้องผ่าตัดนะครับ     โดยโอกาสที่จะต้องผ่าตัดมีน้อยมากเลยครับในตำราแพทย์บางเล่มเขียนไว้ว่าน้อยกว่า 10% ของผู้ป่วยปวดหลังครับที่จำเป็นต้องผ่าตัด อ.นพ.กสิสิน กลั่นกลิ่น

ปวดสะโพก ปวดเอว ร้าวลงขา กินยาไม่หาย ทำไงดี

ปวดสะโพก ปวดเอว ร้าวลงขา กินยาไม่หาย ทำไงดี อาการปวดสะโพก ปวดเอว หรือบางครั้งปวดหลัง  ร้าวลงขา เป็นอาการที่พบได้บ่อยมากในทุกเพศทุกวัย โดยอาการของผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามผู้ป่วยมักจะมีอาการอย่างน้อย 1 อาการดังต่อไปนี้ ปวดสะโพกหรือขาข้างเดียว ตลอดเวลา อาการปวดเป็นมากขึ้นเวลานั่ง อาการปวดขามักเป็นแบบ แปล๊บ ๆ ร้าว ๆ หรือแสบร้อน มีอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง หรือขาชา มีอาการปวดฉับพลันเวลาจะลุกจากที่นอน หรือลุกจากท่านั่ง อาการปวดที่ร้าวบางทีลงไปถึงน่องหรือเท้า อาการเหล่านี้จะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดและระดับความรุนแรงของโรคที่เป็น ซึ่งสาเหตุของอาการเหล่านี้ที่พบบ่อยได้แก่ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังเคลื่อน โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ หากมีอาการแบบนี้แล้ว กินยาไม่หายทำยังไงดีหล่ะ อันดับแรกลองบริหารร่างกายด้วยวิธียืดเส้นเอ็นง่ายๆ ดูก่อนครับ ทำได้โดยนอนหงาย ไหล่ทั้งสองข้างแนบกับพื้น แล้วบิดขาด้านที่เจ็บข้ามมาอีกด้านพร้อมใช้มือดึงจนรู้สึกว่าเส้นตึง ค้างไว้นับ 1-10 ในใจ แล้วพักทำซ้ำ วันละ 10 รอบ ท่านี้จะช่วยยืดเส้นเอ็นเส้นประสาทได้ดีมากครับ หากบริหารด้วยการยืดเส้นเอ็นแล้วไม่หาย อาจต้องรักษาโดยการฉีดยาแก้อักเสบเข้าโพรงประสาทครับ จุดประสงค์เพื่อลดการอักเสบของระบบเส้นประสาทหลังโดยตรง โดยยาจะมีทั้งที่เป็นแบบสเตียรอยด์และไม่ใช่สเตียรอยด์ครับ ในรายที่เป็นมากอาจจำเป็นต้องฉีดซ้ำ โดยระยะเวลาในการฉีดห่างกัน 3-6 สัปดาห์ครับ นวัตกรรมในปัจจุบันที่นำมาใช้ในการฉีดยาคือเราจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการกำหนดตำแหน่งที่จะฉีด เพื่อให้ทำการฉีดได้อย่างแม่นยำครับ สุดท้ายหากฉีดยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นเลย อาจจำเป็นต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของเส้นประสาทที่ถูกกดทับครับ การรักษาที่ทันสมัยขึ้นในปัจจุบันทำให้สามารถลดอัตราการผ่าตัดได้มากทีเดียวครับ

ป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ

ป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ การหกล้มไม่เพียงแต่เป็นผลจากอายุที่มากขึ้นเท่านั้นนะครับ อันที่จริงแล้วการล้มมักเกิดจากหลายปัจจัย และสาเหตุของการล้มบางอย่างนั้นเราก็สามารถป้องกันได้ แนวทางหรือวิธีป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ คุณสามารถลดโอกาสของการล้มด้วยการทำสิ่งเหล่านี้ครับ: 1. เริ่มออกกำลังกายเป็นประจำ  เริ่มออกกำลังกายเป็นประจำ : การออกกำลังกายเป็นหนึ่งในวิธีที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยลดโอกาสของการล้ม เพราะการออกกำลังกายทำให้คุณแข็งแกร่งขึ้น และช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น การออกกำลังกายในลักษณะที่ช่วยปรับปรุงความสมดุลและการประสานงานของร่างกาย ( เช่น Tai Chi ) จะมีประโยชน์มากที่สุด หากคุณขาดการออกกำลังกาย จะทำให้ร่างกายอ่อนแอและเพิ่มโอกาสของการล้ม อย่างไรก็ตาม หากคุณมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนเพื่อเลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม 2. ทำให้บ้านปลอดภัยมากขึ้น ทำให้บ้านปลอดภัยมากขึ้น : ประมาณครึ่งหนึ่งการล้มทั้งหมดเกิดขึ้นที่บ้าน ดังนั้น คุณสามารถป้องกันการล้มได้ด้วยการทำให้บ้านของคุณปลอดภัยมากขึ้นด้วยการ นำสิ่งที่คุณสามารถเหยียบแล้วลื่น (เช่น เอกสาร , หนังสือ, เสื้อผ้า และรองเท้า ) ออกจากบันไดและสถานที่ที่คุณเดินผ่าน ไม่ใช้พรมผืนเล็ก หรือใช้เทปกาวติดพรมเพื่อป้องกันจากการลื่นไถล เก็บสิ่งของที่คุณใช้บ่อยๆ ไว้ในตู้ หรือชั้นวางที่คุณสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องใช้บันได ติดตั้งราวยึดจับติดในห้องน้ำและในอ่างอาบน้ำ หรือห้องอาบน้ำ ใช้แผ่นรองกันลื่นในอ่างอาบน้ำ และห้องอาบน้ำ ปรับปรุงเพื่อเพิ่มแสงสว่างในบ้านของคุณ เพราะเมื่อคนเราอายุมากขึ้นจะต้องใช้แสงสว่างเพื่อการมองเห็นที่ดี เพิ่มราวจับและไฟส่องสว่างบริเวณบันได สวมใส่รองเท้ามีแผ่นรองที่ดี และมีพื้นกันลื่น หากคุณเลี้ยงสัตว์เลี้ยงภายในบ้านต้องระวังไม่ให้สะดุดล้ม หรือนำสัตว์เลี้ยงไปเลี้ยงนอกบ้าน 3. นำยาของคุณไปให้แพทย์ตรวจสอบ นำยาของคุณไปให้แพทย์ตรวจสอบ  : ให้แพทย์หรือ เภสัชกรของคุณดูยาทั้งหมดที่คุณใช้ (รวมถึงยาที่คุณซื้อมาด้วยตนเองนอกเหนือจากที่แพทย์จ่ายให้ เช่น ยาแก้หวัด) เพราะเมื่อคุณอายุมากขึ้น ยาบางชนิดอาจมีการออกฤทธิ์ที่แตกต่างไป การทานยาหลายขนาน สามารถทำให้คุณง่วงนอน ปวดศีรษะ หรือเวียนศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถนำไปสู่การล้มได้ 4. รับการตรวจสายตา รับการตรวจสายตา : สายตาของคุณควรได้รับการตรวจโดยจักษุแพทย์ เพราะการมองเห็นของเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลา คุณอาจจะสวมใส่แว่นตาที่ไม่เหมาะกับปัญหาสายตา หรือมีโรค เช่น โรคต้อหินหรือต้อกระจก ที่อาจจำกัดการมองเห็นของคุณ ซึ่งปัญหาทางการมองเห็นแต่ละแบบควรได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม เพื่อการมองเห็นที่ดี ซึ่งจะช่วยลดโอกาสของการล้มได้ หากออกจากบ้านหรือออกไปนอกบ้าน 1. ควรใช้ไม้เท้าหรือวอล์คเกอร์สำหรับเพิ่มเสถียรภาพความมั่นคง 2. สวมใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองและมีพื้นกันลื่น( nonslip ) 3. เดินบนหญ้าเมื่อพื้นทางเดินมีความลื่นในช่วงฤดูฝน 4. โปรดใช้ความระมัดระวังในบริเวณพื้นขัดมันเนื่องจากมีความลื่นสูงและเป็นอันตรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปียก ควรจะเดินบนพลาสติกกันลื่นหรือพรมกันลื่นเมื่อเป็นไปได้ 5. ควรหยุดที่ขอบทางเดินหรือทางโค้งทุกครั้งและตรวจสอบความสูงของขอบทางเดินก่อนที่จะก้าวขึ้นหรือลง

ปวดหลังร้าวลงขา รีบรักษา อาจไม่ต้องผ่าตัด

ปวดหลังร้าวลงขา รีบรักษา อาจไม่ต้องผ่าตัด ปวดหลังร้าวลงขา บางครั้งมีอาการชาร่วมด้วย หรืออาจมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา อาจบ่งบอกถึงภาวะความผิดปกติของกระดูกสันหลังและระบบประสาทหลังได้นะครับ หากไม่รีบตรวจรักษาอาจทำให้มีอาการปวดเรื้อรังทำให้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดในที่สุดครับ สาเหตุของอาการปวดหลังร้าวลงขาที่พบบ่อย หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเสื่อม กระดูกสันหลังเคลื่อน โพรงกระดูกสันหลังตีบ ข้อต่อกระดูกสันหลังกับสะโพกมีปัญหา วิธีการรักษาดูแลตัวเองเบื้องต้น หากอาการยังเป็นไม่มากสามารถดูแลรักษาด้วยตัวเองที่บ้านได้นะครับ หลีกเลี่ยงการยกของหนักทุกชนิดในช่วงแรก โดยหลังจากที่เรารู้สึกมีอาการปวดควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมยกของหนักโดยทันทีครับ ไม่ควรฝืนยกนะครับจะทำให้อาการเป็นมากขึ้นครับ ใช้การประคบร้อนหรือเย็นช่วย ทานยาลดการอักเสบ แก้ปวด บริหารร่างกายโดยวิธีที่ไม่ลงน้ำหนัก เช่น ปั่นจักรยาน หรือ ว่ายน้ำ หากใช้วิธีรักษาเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้นอย่าปล่อยอาการปวดทิ้งไว้ให้กลายเป็นอาการปวดเรื้อรังนะครับ จะทำให้รักษายากขึ้นบางรายอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากจนต้องผ่าตัดรักษา วิธีที่สามารถใช้รักษาอาการปวดหลังร้าวลงขาที่ได้ผลดีและไม่ต้องทำการผ่าตัดก็คือ  การฉีดยาเข้าโพรงประสาทรักษาอาการอักเสบของเส้นประสาทโดยตรง  ซึ่งผู้ป่วยบางรายที่เป็นไม่มากจะได้ผลดีครับ หากการอักเสบเป็นมากอาจต้องทำการฉีดซ้ำหลายครั้งครับ

อาหารที่ไม่ควรทานหากปวดหลัง หรือมีการอักเสบ

อาหารที่ไม่ควรทานหากปวดหลัง หรือมีการอักเสบ     คุณเคยได้ยินคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ถึงอาหารที่ไม่ควรทานหากเราเจ็บป่วยบ้างหรือปล่าวครับ ส่วนใหญ่เวลาเรามีอาการปวดหลังหรือเกิดการอักเสบที่จุดต่าง ๆ ของกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ เรามักจะนึกถึงเรื่องอาหารการกินเป็นเรื่องท้าย ๆเลย ใช่ไหมครับ แต่ทราบกันหรือไม่ครับว่า อาหารที่รับประทานก็มีส่วนทำให้เกิดอาการอักเสบหรือปวดอยู่บ้าง ไม่น้อยเลยทีเดียวครับ     อาหารที่เราไม่ควรทานหากปวดหลังหรือมีการอักเสบ เป็นอาหารจำพวกที่ทำให้กระตุ้นกระบวนการอักเสบของร่างกายครับ เนื้อแดง อาหารแปรรูปขั้นสูง เช่น ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม อาหารกระป๋อง ไส้กรอก อาหารสำเร็จรูป ข้าวขาว ขนมปังขาว นมและโยเกิร์ตที่มีไขมันสูง เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง และขนมที่มีน้ำตาลสูง อาหารทอด อาหารที่มีไขมันชนิดทรานส์ อาหารที่มีผงชูรสมาก เครื่องดื่มอัลกอฮอล์     หากเรางดหรือลดอาหารจำพวกดังที่ผมได้กล่าวมาแล้วก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดหรืออักเสบได้อีกทางนึงนะครับ

10 สัญญานอันตราย ของอาการปวดหลัง!!!

10 สัญญานอันตราย ของอาการปวดหลัง!!!     สาเหตุของอาการปวดหลังอาจเป็นแค่กล้ามเนื้ออักเสบไปจนถึงมะเร็งก็เป็นได้ครับ แต่เมื่อไร่กันหละที่เราต้องระวังตัวให้มากหากมีอาการปวดหลัง หากคุณหรือญาติของคุณมีอาการปวดหลังร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ คุณควรจะมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุดนะครับ มีอาการปวดร้าวลงสะโพกหรือขา มีอาการชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการปวดตอนกลางคืน ปัสสาวะหรืออุจจาระผิดปกติ มีประวัติเป็นโรคมะเร็ง ทานยาแก้ปวดธรรมดาแล้วไม่ดีขึ้น มีประวัติได้รับอุบัติเหตุ มีไข้หรือหนาวสั่น อายุมากกว่า 50 ปี     อาการที่ผมได้กล่าวมาหากพบร่วมกับอาการปวดหลังแล้ว อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงได้นะครับ เราไม่ควรนิ่งเฉยต่ออาการเหล่านี้ครับ     อาการส่วนใหญ่รักษาโดยการทานยา ฉีดยา กายภาพ โดยหากมาพบแพทย์เร็วโอกาสจะได้รับการผ่าตัดน้อยมากครับ     บทความกระดูกทับเส้น รักษาโดยไม่ผ่าตัด อ.นพ.กสิสิน กลั่นกลิ่น

กระดูก หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

กระดูก หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท     กระดูก หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คุณอาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัด      คุณหรือพ่อแม่ พี่น้อง ป้ออุ๊ย แม่อุ๊ย ที่บ้านเคยมีอาการปวดหลัง ร้าวลงสะโพก ร้าวลงขา หรือชา หรือปล่าวครับ หากมีอาการที่ผมกล่าวมาท่านนั้นอาจมีภาวะกระดูก หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทก็ได้นะครับ     ทำไมผมถึงต้องมาเขียนบทความเรื่องนี้ จริง ๆ แล้วผู้ป่วยโรคกระดูก หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีอยู่เยอะมาก ๆ เลยครับ แต่ส่วนใหญ่ไม่ยอมมาหาหมอครับ (ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุนะครับ) เพราะว่ากลัวว่าจะถูกผ่าตัด หรือเคยได้ยินคนแถวบ้านบอกว่าไปผ่ามาแล้วไม่หาย แย่ลงกว่าเดิม ทำให้ต้องทนอยู่กับอาการเจ็บปวด คุณภาพชีวิตแย่ลง ไปเที่ยวไกล ๆ ไม่ได้อีกต่อไป ก่อนอื่นเรามารู้จักโรค กระดูก หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทกันก่อนนะครับ     สาเหตุการทับเส้นประสาท กระดูกงอก กระดูกเสื่อม กระดูกเคลื่อน หมอนรองกระดูกเคลื่อน หมอนรองกระดูกเสื่อม ติดเชื้อ หรือ ก้อนเนื้องอd ฯลฯ  อาการที่พบ     ปวดหลัง ปวดสะโพก ร้าวลงขา ชาขา เดินหรือทำงานแล้วปวดมากขึ้น เมื่อนั่งพักแล้วดีขึ้น บางรายเป็นมากจนกล้ามเนื้ออ่อนแรง   การวินิจฉัยโรค     อาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย และในบางครั้งหมอจำเป็นต้องส่งตรวจพิเศษด้วย x-ray หรือ MRI การรักษา     ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคเลยนะครับ แต่ที่สำคัญคือเราต้องทำความเข้าใจโรค หยุดทำงานหนัก หยุดยกของหนัก พยายามลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ มาก ๆ ครับ ทานยาจำพวกลดอาการอักเสบ แก้ปวดเท่าที่จำเป็น ยาแก้ปวดปลายประสาท บำรุงปลายประสาท คลายกล้ามเนื้อ และการรักษาอีก 1 วิธีก็คือ การฉีดยารอบโพรงประสาทหลังเพื่อลดอาการอักเสบของเส้นประสาทโดยตรง วิธีนี้ได้ผลดีถึงดีมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ร้าวลงสะโพกหรือลงขา โดยจะบรรเทาอาการปวดอย่างรวดเร็วครับ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรงจนปัสสาวะอุจจาระไม่ได้หรืออ่อนแรงจนเดินไม่ได้ถึงจะมีความจำเป็นจะต้องผ่าตัดนะครับ     เมื่อเราทราบอย่างนี้แล้วจะเห็นว่าโอกาสที่จะต้องผ่าตัดมีน้อยมากเลยครับในตำราแพทย์บางเล่มเขียนไว้ว่าน้อยกว่า 10% ของผู้ป่วยปวดหลังครับที่จำเป็นต้องผ่าตัด อ.นพ.กสิสิน กลั่นกลิ่น